วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สุภาษิต คืออะไร?


สุภาษิต


          สำนวน สุภาษิตไทย รวมถึงคำพังเพยนั้น นิยมใช้กันมาอย่างยาวนานและแพร่หลาย นับเป็นอีกหนึ่งในวัฒนธรรมที่น่าภาคภูมิใจของไทยเรา สำนวนไทย สุภาษิตไทยและคำพังเพยนั้น เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น ทั้งทางดีและทางร้าย จนมีการนำสิ่งที่เกิดขึ้นมาเรียบเรียงถ้อยคำใหม่ในเชิงสั่งสอนหรือเปรียบเทียบ จนเกิดเป็นสํานวนไทย สุภาษิตคำพังเพย และ สุภาษิตสำนวนไทยในที่สุด

          สำนวน สุภาษิต คำพังเพยนั้น ดูเผินๆจะคล้ายกันมากจนแยกกันแทบไม่ออก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทั้ง 3 คำมีความแตกต่างกันอยู่ โดยที่สํานวนไทยจะเป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบและมักจะไม่แปลความหมายตรงๆ เช่น กินน้ำใต้ศอก ส่วนสุภาษิตจะเป็นเชิงสั่งสอนหรือให้ข้อคิด เช่น หัวล้านได้หวี วานรได้แก้ว และสุดท้ายคำพังเพย จะเป็นลักษณะของการเปรียบเทียบของสองสิ่ง เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ เป็นต้น


คำสุภาษิต


          คือคำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี คำสุภาษิตมักจะแต่งให้คล้องจองฟังแล้วระรื่นชื่นหู เพื่อให้จดจำได้ง่ายและเกิดการใช้งานได้บ่อย หลายครั้งที่เราได้พบกับคำสุภาษิตจากสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ เราอาจจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจในความหมายของมันก็ได้ ได้รวบรวมความหมายของคำสุภาษิต คำพังเพย ไทย ๆ มาไว้ที่นี่ครบถ้วนแล้ว






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น